Monday, December 1, 2008

อินเตอร์เน็ต (Internet)


อินเตอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า Inter Connection Network


อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)


ลักษณะของระบบอินเตอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace

1. ความหมายของอินเตอร์เน็ต
“อินเตอร์เน็ต” มาจากคำว่า International Network เป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน

คำว่า “เครือข่าย” หมายถึง
1. การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล (ทางตรง) และหรือสายโทรศัพท์ (ทางอ้อม)
2. มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์
3. มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน

2. หน้าที่และความสำคัญของอินเตอร์เน็ต
การสื่อสารในยุคปัจจุบันที่กล่าวขานกันว่าเป็นยุคไร้พรมแดนนั้น การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของทุกหน่วยงาน และอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวได้ จึงเป็นความจำเป็นที่ทุกคนต้องให้ความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่นี้ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างเต็มที่

อินเตอร์เน็ต ถือเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สากลที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ภายใต้มาตรฐานการสื่อสารเดียวกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารและสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่ายต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งรวมสารสนเทศจากทุกมุมโลก ทุกสาขาวิชา ทุกด้าน ทั้งบันเทิงและวิชาการ ตลอดจนการประกอบธุรกิจต่างๆ
เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลายคือ
1. การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต ไม่จำกัดระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบปฏิบัติการกันก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
2. อินเตอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารเดียวกันห่างกันคนละทวีป ข้อมูลก็สามารถส่งผ่านถึงกันได้
3. อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียว หรืออาจมีภาพประกอบ รวมไปถึงข้อมูลชนิดมัลติมีเดีย คือมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบด้วยได้
คำอื่นที่ใช้ในความหมายเดียวกับอินเตอร์เน็ต คือ Information Superhighway และ Cyberspace

3. อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
ประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตในพ.ศ. 2535 โดยเริ่มที่สำนัก วิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ 2 วงจร หน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรกๆ ได้แก่สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่นๆ

สำหรับภาคเอกชน ได้มีการก่อตั้งบริษัทสำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่เอกชนและบุคคลทั่วไปที่นิยมเรียกกันว่า ISP (Internet Service Providers) หลายราย เช่น ศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย (Internet Thailand) บริษัทเคเอสซีคอมเมอร์เชียลอินเตอร์เน็ตจำกัด (Internet KSC) บริษัทล็อกซเลย์อินฟอร์เมชันจำกัด (Loxinfo) เป็นต้น โดยในการพิจารณาเลือกใช้บริการจาก ISP เอกชนเหล่านี้ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ
1. อัตราค่าใช้จ่ายโดยรวม ทั้งค่าสมัครเป็นสมาชิกและค่าใช้จ่ายเป็นรายครั้ง รายเดือน หรือรายปี
2. คำนวนคู่สายโทรศัพท์ ว่ามีให้ใช้ติดต่อมากเพียงพอหรือไม่ เพราะถ้ามีไม่มากก็จะเสียเวลารอคอยนานกว่าจะเชื่อมต่อได้
3. ความเร็วของสายที่ใช้
4. พื้นที่ในการให้บริการ ควรเลือกใช้ ISP ที่อยู่ในจังหวัด หรือพื้นที่ใกล้เคียงจะเหมาะสมกว่า เพราะ ISP ส่วนใหญ่มักให้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร


การประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ


สารสนเทศ คือการนำเอาข้อมูลทั้งหลายมาประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์และนำไปใช้ประโยชน์
การประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศทำได้ 3 วิธี คือ
1. การประมวลผลด้วยมือ
2. การประมวลผลด้วยเครื่องจักร
3. การประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์
เนื้อหาสาระความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของข้อมูลข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของต่างๆ และเหตุการณ์ข้อมูลมาจากการสังเกต สอบถาม โดยใช้ประสาทสัมผัสคือ ตา หู จมูก ลิ้น และสัมผัสแล้วเก็บรวบรวมและบันทึกไว้ซึ่งข้อมูลมีประโยชน์มากเพราะเป็นสิ่งที่ช่วยให้การติดสินใจเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม

ประโยชน์ของข้อมูลในแต่ละด้านมีดังนี้
1. การดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ข้อมูลครอบครัว ข้อมูลพยากรณ์อากาศ ข้อมูลนักเรียนในโรงเรียน เป็นต้น
2. การประกอบอาชีพ เช่น รับราชการ เป็นพนักงานบริษัท
3. การพัฒนาชุมชนและสังคม เช่น นำข้อมูลข่าวสารมาใช้ในการพัฒนาชุมชนและสังคม

แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูล หมายถึง ที่มาของข้อมูล หรือต้นกำเนิดของข้อมูลที่เราได้จัดเก็บหรือรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่แหล่งข้อมูลมี 2 แหล่ง ดังนี้
1. ข้อมูลชั้นต้น หรือข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นไว้เป็นครั้งแรกและบันทึกไว้เช่น นักเรียนสำรวจบริเวณโรงเรียนพบว่ามีต้นไม้จำนวน 50 ต้น
2. ข้อมูลชั้นที่สอง หรือข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลที่เกิดจากการนำเอาข้อมูลชั้นต้นไปใช้เช่น นักเรียนค้นคว้าเอกสารในห้องสมุดเกี่ยวกับประวัติของคอมพิวเตอร์จึงคัดลอกข้อความทำเป็นรายงานส่งครูการรวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลเป็นวิธีการแสวงหาหรือได้มาซึ่งข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วเราเรียกว่า ข้อมูลดิบจะต้องนำข้อมูลนั้นไปทำการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ เพื่อนำไปใช้งานซึ่งวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ที่ทำได้ง่ายคือ
1. การสังเกต คือการพิจารณา เฝ้าดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราสนใจ
2. การสำรวจ เช่นการสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
3. การค้นคว้าจากเอกสารหรือข้อมูลชั้นที่สอง

การประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศสารสนเทศ คือ การนำเอาข้อมูลทั้งหลายมาประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์และนำไปใช้ประโยชน์
การประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศทำได้ 3 วิธี คือ
1. การประมวลผลด้วยมือ
2. การประมวลผลด้วยเครื่องจักร
3. การประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์