Monday, February 16, 2009

network



การพื้นฐานในการติดตั้งระบบ kNetworความต้อง

ก่อนจะติดตั้งระบบ Network เครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านต้องมีสิ่งเหล่านี้1. เครื่องคอมพิวเตอร์ในระบบ Windows 95, Windows 98, Windows Me, Windows 2000, Windows XP2. Network Adapter Card ( LAN Card )3. สายสำหรับเชื่อมเครื่องคอมพิวเตอร์เข้าระบบเครือข่าย ( สาย UTP พร้อมหัว RJ45 )4. จุดเชื่อมต่อเครือข่าย ( จุดที่มีที่สำหรับเสียบสาย UTP มักจะอยู่บริเวณผนัง หรือ เสา )5. เครื่องกระจายสัญญาณ ( HUB ) หากภายในบริเวณของท่านมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ต้องการ เชื่อมต่อเข้าเครือข่ายเกินกว่าจุดเชื่อมต่อตามข้อ 4
หมายเหตุเครื่องคอมพิวเตอร์ของท่านควรจะได้รับการติดตั้งอุปกรณ์ที่ระบุไว้ข้างต้นเรียบร้อยสมบูรณ์แล้ว

ขั้นตอนการติดตั้งระบบ Network
1. เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ เมื่อ Windows พร้อมที่ทำงานแล้วให้กด แล้วเลือกที่ Setting หัวข้อ Control Panel หรือ เลือก Properties จากการคลิ้กขวา ที่ My Network Places หรือ My Network Neighborhood ที่หน้าจอ ก็ได้
2. ในหน้าจอ Control Panel เลือกที่ Network จะปรากฎหน้าจอสำหรับติดตั้งค่าของอุปกรณ์เครือข่าย
3. ให้ตรวจสอบดูว่าเครื่องของท่านมี โปรโตคอล TCP/IP หรือไม่
4. หากไม่มี ให้เพิ่มโปรโตคอลตัวนี้เข้าไป หลังจากนั้น Windows จะ Restart
5. หลังจาก Windows Start แล้ว ให้เข้าไปที่ Control Panel -> Network ตามข้อ 1 และ 2 จากนั้นก็ให้เลือกที่
TCP/IP แล้วกด Properties
6. เลือกที่ Obtain an IP address automatically (ซึ่งโดยปกติ จะถูกเลือกอยู่แล้ว)
7. ในหัวข้อ WINS Configuration ให้เลือก เป็น Use DHCP for WINS Resolution (ซึ่งโดยปกติ จะถูกเลือกอยู่แล้ว)
8. จากนั้นก็กด OK ไปจนกระทั่ง Windows Restart แล้วเครื่องของท่านก็ติดตั้ง Network เสร็จเรียบร้อย

Monday, January 26, 2009

ซอต์ฟแวร์


ซอต์ฟแวร์
ซอต์ฟแวร์ หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ถูกเขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย ซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกได้เป็น

1. ซอฟต์แวร์สำหรับระบบ (System Software)
คือ ชุดของคำสั่งที่เขียนไว้เป็นคำสั่งสำเร็จรูป ซึ่งจะทำงานใกล้ชิดกับคอมพิวเตอร์มากที่สุด เพื่อคอยควบคุมการทำงานของฮาร์ดแวร์ทุกอย่าง และอำนวยความสะดวกให้กับผู้ใช้ในการใช้งาน ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมระบบที่รู้จักกันดีก็คือ DOS, Windows, Unix, Linux รวมทั้งโปรแกรมแปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C เป็นต้น นอกจากนี้โปรแกรมที่ใช้ในการตรวจสอบระบบเช่น Norton’s Utilities ก็นับเป็นโปรแกรมสำหรับระบบด้วยเช่นกัน

2. ซอฟต์แวร์ประยุกต์ (Application Software)
คือ ซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมที่มำให้คอมพิวเตอร์ทำงานต่างๆ ตามที่ผู้ใช้ต้องการ ไม่ว่าจะด้านเอกสาร บัญชี การจัดเก็บข้อมูล เป็นต้น ซอฟต์แวร์ประยุกต์สามารถจำแนกได้เป็น 2 ประเภท คือ
2.1 ซอฟต์แวร์สำหรับงานเฉพาะด้าน คือ โปรแกรมซึ่งเขียนขึ้นเพื่อการทำงานเฉพาะอย่างที่เราต้องการ บางที่เรียกว่า User’s Program เช่น โปรแกรมการทำบัญชีจ่ายเงินเดือน โปรแกรมระบบเช่าซื้อ โปรแกรมการทำสินค้าคงคลัง เป็นต้น ซึ่งแต่ละโปรแกรมก็มักจะมีเงื่อนไข หรือแบบฟอร์มแตกต่างกันออกไปตามความต้องการ หรือกฏเกณฑ์ของแต่ละหน่วยงานที่ใช้ ซึ่งสามารถดัดแปลงแก้ไขเพิ่มเติม (Modifications) ในบางส่วนของโปรแกรมได้ เพื่อให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และซอฟต์แวร์ประยุกต์ที่เขียนขึ้นนี้โดยส่วนใหญ่มักใช้ภาษาระดับสูงเป็นตัวพัฒนา
2.3 ซอฟต์แวร์สำหรับงานทั่วไป เป็นโปรแกรมประยุกต์ที่มีผู้จัดทำไว้ เพื่อใช้ในการทำงานประเภทต่างๆ ทั่วไป โดยผู้ใช้คนอื่นๆ สามารถนำโปรแกรมนี้ไปประยุกต์ใช้กับข้อมูลของตนได้ แต่จะไม่สามารถทำการดัดแปลง หรือแก้ไขโปรแกรมได้ ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องเขียนโปรแกรมเอง ซึ่งเป็นการประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการเขียนโปรแกรม นอกจากนี้ ยังไม่ต้องเวลามากในการฝึกและปฏิบัติ ซึ่งโปรแกรมสำเร็จรูปนี้ มักจะมีการใช้งานในหน่วยงานมราขาดบุคลากรที่มีความชำนาญเป็นพิเศษในการเขียนโปรแกรม ดังนั้น การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปจึงเป็นสิ่งที่อำนวยความสะดวกและเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง ตัวอย่างโปรแกรมสำเร็จรูปที่นิยมใช้ได้แก่ MS-Office, Lotus, Adobe Photoshop, SPSS, Internet Explorer และ เกมส์ต่างๆ เป็นต้น
ที่มา http://www.google.co.th/
http://www.thaiza.com

Monday, January 5, 2009

เรื่องฮาร์ดแวร์


ฮาร์ดแวร์ คือเครื่องมือหรืออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ (computer นิยมอ่านในภาษาไทยว่า คอม-พิ้ว-เต้ออิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสามารถในการคำนวณอัตโนมัติตามคำสั่ง ส่วนที่ใช้ประมวลผลเรียกว่าหน่วยประมวลผล ชุดของคำสั่งที่ระบุขั้นตอนการคำนวณเรียกว่าโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ผลลัพธ์ที่ได้ออกมานั้นอาจเป็นได้ทั้ง ตัวเลข ข้อความ รูปภาพ เสียง หรืออยู่ในรูปอื่น ๆ อีกมากมาย
ลักษณะทางกายภาพของคอมพิวเตอร์นั้นมีหลากหลาย มีทั้งขนาดที่ใหญ่มากจนต้องใช้ห้องทั้งห้องในการบรรจุ และขนาดเล็กจนวางได้บนฝ่ามือ การจัดแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์สามารถจัดแบ่งได้ตามขนาดทางกายภาพเป็นสำคัญ ซึ่งมักจะแปลผันกับประสิทธิภาพความเร็วในการประมวลผล โดยขนาดคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดเรียกว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ใช้กับการคำนวณผลทางวิทยาศาสตร์ ขนาดรองลงมาเรียกว่า เมนเฟรม มักใชัในบริษัทขนาดใหญ่ที่ต้องมีการประมวลผลธุรกรรมทางธุรกิจจำนวนมากๆ สำหรับคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่ใช้ในระดับบุคคลเรียกว่า คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่พกพาได้เรียกว่า คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค ส่วนคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กที่สามารถวางบนฝ่ามือได้เรียกว่า พีดีเอ อย่างไรก็ตามคอมพิวเตอร์มีใช้กันอย่างกว้างขวางมาก ซึ่งมีอุปกรณ์หลายๆชนิดได้นำคอมพิวเตอร์ไปใช้เป็นกลไกหลักในการทำงาน เช่น กล้องดิจิทัล เครื่องเล่นเอ็มพีสาม หรือในรถยนต์เองก็มีคอมพิวเตอร์ที่ใช้ช่วยในการตรวจสอบระบบการทำงานของเครื่องยนต์

ที่มา

Monday, December 1, 2008

อินเตอร์เน็ต (Internet)


อินเตอร์เน็ต (Internet) คือ เครือข่ายของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบต่าง ๆ ที่เชื่อมโยงกัน มาจากคำว่า Inter Connection Network


อินเตอร์เน็ต (Internet) เป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่มีขนาดใหญ่ เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องทั่วโลก สามารถติดต่อสื่อสารถึงกัน ได้โดยใช้มาตรฐาน ในการรับส่งข้อมูลที่เป็นหนึ่งเดียว หรือที่เรียกว่าโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งโปรโตคอล ที่ใช้บนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีชื่อว่า ทีซีพี/ไอพี (TCP/IP : Transmission Control Protocol/Internet Protocol)


ลักษณะของระบบอินเตอร์เน็ต เป็นเสมือนใยแมงมุม ที่ครอบคลุมทั่วโลก ในแต่ละจุดที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตนั้น สามารถสื่อสารกันได้หลายเส้นทาง ตามความต้องการ โดยไม่กำหนดตายตัว และไม่จำเป็นต้องไปตามเส้นทางโดยตรง อาจจะผ่านจุดอื่น ๆ หรือ เลือกไปเส้นทางอื่นได้หลาย ๆ เส้นทาง การติดต่อสื่อสาร ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต นั้นอาจเรียกว่า การติดต่อสื่อสารแบบไร้มิติ หรือ Cyberspace

1. ความหมายของอินเตอร์เน็ต
“อินเตอร์เน็ต” มาจากคำว่า International Network เป็นเครือข่ายของการสื่อสารข้อมูลขนาดใหญ่ อันประกอบด้วยเครือข่ายคอมพิวเตอร์จำนวนมาก เชื่อมโยงแหล่งข้อมูลจากองค์กรต่างๆ ทั่วโลกเข้าด้วยกัน

คำว่า “เครือข่าย” หมายถึง
1. การที่มีคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 เครื่องขึ้นไป เชื่อมต่อเข้าด้วยกันด้วยสายเคเบิล (ทางตรง) และหรือสายโทรศัพท์ (ทางอ้อม)
2. มีผู้ใช้คอมพิวเตอร์
3. มีการถ่ายเทข้อมูลระหว่างกัน

2. หน้าที่และความสำคัญของอินเตอร์เน็ต
การสื่อสารในยุคปัจจุบันที่กล่าวขานกันว่าเป็นยุคไร้พรมแดนนั้น การเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายจำนวนมากๆ ได้ในเวลาอันรวดเร็ว และใช้ต้นทุนในการลงทุนต่ำ เป็นสิ่งที่พึงปรารถนาของทุกหน่วยงาน และอินเตอร์เน็ตเป็นสื่อที่สามารถตอบสนองต่อความต้องการดังกล่าวได้ จึงเป็นความจำเป็นที่ทุกคนต้องให้ความสนใจและปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีใหม่นี้ เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีดังกล่าวอย่างเต็มที่

อินเตอร์เน็ต ถือเป็นระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์สากลที่เชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ภายใต้มาตรฐานการสื่อสารเดียวกัน เพื่อใช้เป็นเครื่องมือสื่อสารและสืบค้นสารสนเทศจากเครือข่ายต่างๆ ทั่วโลก ดังนั้น อินเตอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งรวมสารสนเทศจากทุกมุมโลก ทุกสาขาวิชา ทุกด้าน ทั้งบันเทิงและวิชาการ ตลอดจนการประกอบธุรกิจต่างๆ
เหตุผลสำคัญที่ทำให้อินเตอร์เน็ตได้รับความนิยมแพร่หลายคือ
1. การสื่อสารบนอินเตอร์เน็ต ไม่จำกัดระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ คอมพิวเตอร์ที่ต่างระบบปฏิบัติการกันก็สามารถติดต่อสื่อสารกันได้
2. อินเตอร์เน็ตไม่มีข้อจำกัดในเรื่องของระยะทาง ไม่ว่าจะอยู่ภายในอาคารเดียวกันห่างกันคนละทวีป ข้อมูลก็สามารถส่งผ่านถึงกันได้
3. อินเตอร์เน็ตไม่จำกัดรูปแบบของข้อมูล ซึ่งมีได้ทั้งข้อมูลที่เป็นข้อความอย่างเดียว หรืออาจมีภาพประกอบ รวมไปถึงข้อมูลชนิดมัลติมีเดีย คือมีทั้งภาพเคลื่อนไหวและมีเสียงประกอบด้วยได้
คำอื่นที่ใช้ในความหมายเดียวกับอินเตอร์เน็ต คือ Information Superhighway และ Cyberspace

3. อินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
ประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อเชื่อมโยงเข้าสู่อินเตอร์เน็ตในพ.ศ. 2535 โดยเริ่มที่สำนัก วิทยบริการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2536 เนคเทคได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาที ซึ่งช่วยเพิ่มความสามารถในการขนถ่ายข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระหว่างประเทศ 2 วงจร หน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมเชื่อมโยงเครือข่ายในระยะแรกๆ ได้แก่สถาบันอุดมศึกษาต่างๆ และต่อมาได้ขยายไปยังหน่วยงานราชการอื่นๆ

สำหรับภาคเอกชน ได้มีการก่อตั้งบริษัทสำหรับให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่เอกชนและบุคคลทั่วไปที่นิยมเรียกกันว่า ISP (Internet Service Providers) หลายราย เช่น ศูนย์บริการอินเตอร์เน็ตแห่งประเทศไทย (Internet Thailand) บริษัทเคเอสซีคอมเมอร์เชียลอินเตอร์เน็ตจำกัด (Internet KSC) บริษัทล็อกซเลย์อินฟอร์เมชันจำกัด (Loxinfo) เป็นต้น โดยในการพิจารณาเลือกใช้บริการจาก ISP เอกชนเหล่านี้ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ
1. อัตราค่าใช้จ่ายโดยรวม ทั้งค่าสมัครเป็นสมาชิกและค่าใช้จ่ายเป็นรายครั้ง รายเดือน หรือรายปี
2. คำนวนคู่สายโทรศัพท์ ว่ามีให้ใช้ติดต่อมากเพียงพอหรือไม่ เพราะถ้ามีไม่มากก็จะเสียเวลารอคอยนานกว่าจะเชื่อมต่อได้
3. ความเร็วของสายที่ใช้
4. พื้นที่ในการให้บริการ ควรเลือกใช้ ISP ที่อยู่ในจังหวัด หรือพื้นที่ใกล้เคียงจะเหมาะสมกว่า เพราะ ISP ส่วนใหญ่มักให้บริการในเขตกรุงเทพมหานคร


การประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศ


สารสนเทศ คือการนำเอาข้อมูลทั้งหลายมาประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์และนำไปใช้ประโยชน์
การประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศทำได้ 3 วิธี คือ
1. การประมวลผลด้วยมือ
2. การประมวลผลด้วยเครื่องจักร
3. การประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์
เนื้อหาสาระความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของข้อมูลข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงที่เราสนใจ ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของต่างๆ และเหตุการณ์ข้อมูลมาจากการสังเกต สอบถาม โดยใช้ประสาทสัมผัสคือ ตา หู จมูก ลิ้น และสัมผัสแล้วเก็บรวบรวมและบันทึกไว้ซึ่งข้อมูลมีประโยชน์มากเพราะเป็นสิ่งที่ช่วยให้การติดสินใจเป็นไปอย่างถูกต้องเหมาะสม

ประโยชน์ของข้อมูลในแต่ละด้านมีดังนี้
1. การดำเนินชีวิตประจำวัน เช่น ข้อมูลครอบครัว ข้อมูลพยากรณ์อากาศ ข้อมูลนักเรียนในโรงเรียน เป็นต้น
2. การประกอบอาชีพ เช่น รับราชการ เป็นพนักงานบริษัท
3. การพัฒนาชุมชนและสังคม เช่น นำข้อมูลข่าวสารมาใช้ในการพัฒนาชุมชนและสังคม

แหล่งข้อมูล
แหล่งข้อมูล หมายถึง ที่มาของข้อมูล หรือต้นกำเนิดของข้อมูลที่เราได้จัดเก็บหรือรวบรวมไว้เป็นหมวดหมู่แหล่งข้อมูลมี 2 แหล่ง ดังนี้
1. ข้อมูลชั้นต้น หรือข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูลที่รวบรวมขึ้นไว้เป็นครั้งแรกและบันทึกไว้เช่น นักเรียนสำรวจบริเวณโรงเรียนพบว่ามีต้นไม้จำนวน 50 ต้น
2. ข้อมูลชั้นที่สอง หรือข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลที่เกิดจากการนำเอาข้อมูลชั้นต้นไปใช้เช่น นักเรียนค้นคว้าเอกสารในห้องสมุดเกี่ยวกับประวัติของคอมพิวเตอร์จึงคัดลอกข้อความทำเป็นรายงานส่งครูการรวบรวมข้อมูล
การรวบรวมข้อมูลเป็นวิธีการแสวงหาหรือได้มาซึ่งข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วเราเรียกว่า ข้อมูลดิบจะต้องนำข้อมูลนั้นไปทำการประมวลผลให้เป็นสารสนเทศ เพื่อนำไปใช้งานซึ่งวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล ที่ทำได้ง่ายคือ
1. การสังเกต คือการพิจารณา เฝ้าดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่เราสนใจ
2. การสำรวจ เช่นการสอบถาม การสัมภาษณ์ และการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์
3. การค้นคว้าจากเอกสารหรือข้อมูลชั้นที่สอง

การประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศสารสนเทศ คือ การนำเอาข้อมูลทั้งหลายมาประมวลผลเพื่อให้ได้ผลลัพธ์และนำไปใช้ประโยชน์
การประมวลผลข้อมูลเป็นสารสนเทศทำได้ 3 วิธี คือ
1. การประมวลผลด้วยมือ
2. การประมวลผลด้วยเครื่องจักร
3. การประมวลผลด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์